สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าถึงประสบการณ์จากท่านผู้รู้ท่านหนึ่งที่ศึกษาเรื่องการอบข้าวและมีข้อคิดที่ทุกคนก็รู้ และเคยรู้หรือรู้แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะว่าเวลานั้นยังมาไม่ถึงนั่นเอง แต่เวลานี้ถึงเวลานั้นแล้ว คือ เรื่องการวัดความชื้นของข้าวเปลือก ก่อนนี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
การวัดความชื้นข้าวเปลือกนั้นมีอยู่หลายเวลา /ต่างกรรมต่างวาระ
1. วัดเมื่อมีการซื้อขายข้าวเปลือก คือ ตรวจวัดความชื้นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเกี่ยวเสร็จ (ข้าวเกี่ยวสดจากท้องนา) นำมาขายให้โรงสีข้าวโดยตรงหรือพ่อค้าคนกลางรับซื้อข้าวเปลือกในท้องถิ่นนั้นๆหรือที่ตลาดกลางข้าวเปลือก (ท่าข้าว) ความชื้นก็จะอยู่ในระหว่าง 28-30+จุด (หน่วยวัดที่เครื่องวัดความชื้น) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตีราคารับซื้อ-ขาย
2. วัดความชื้น เมื่อมีการซื้อขายที่โรงสีข้าวที่โรงสีข้าว ผู้ขาย มีทั้งเป็นเกษตรกรบรรทุกมาขายโดยตรงกับโรงสีข้าว และพ่อค้าคนกลางที่รวบรวมข้าวเปลือกสดในแต่ละวันมาขายให้โรงสีข้าวก็จะมีการวัดข้าวเปลือกและตรวจสอบคุณภาพที่หน้าออฟฟิศ
โดยเก็บตัวอย่างจากรถบรรทุกด้วยหุ่นยนต์เก็บตัวอย่าง (paddy robot) เพื่อนำมากะเทาะเป็นข้าวก้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ความแกร่ง ความสมบูรณ์ สิ่งเจือปน สายพันธุ์ข้าวตามที่โรงสีกำหนดที่สำคัญที่สุด คือ ค่าความชื้น (เพราะค่านี้จะเป็นค่าที่ใช้เสนอราคาซื้อ-ขาย)
3. วัดความชื้น เมื่อมีการนำข้าวเปลือกไปทำความสะอาดเพื่อเข้าตู้อบลดความชื้น (เป็นการวัดความชื้นก่อนเข้าตู้อบ) เพื่อตั้งค่าความร้อนของลมร้อน (ลมร้อนที่ผสมกับลมบรรยากาศ เพื่อให้ได้ความร้อนที่ต้องการ) จุดนี้เป็นจุดที่เพราะถ้าตั้งค่าความร้อนสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป
การปรับรอบของโรตารีที่ปล่อยข้าวเปลือกด้านล่างของตู้อบ 2 ตัวแปรนี้ จะมีผลต่อปริมาณการอบของเครื่องอบและจะมีผลต่อคุณภาพข้าวเปลือกโดยตรง
ตู้อบในบ้านเรานั้น มีอยู่ 2 ระบบ
1. ระบบหมุนเวียน คือใส่ข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงเข้าไปในตู้ที่ต้องการอบแล้วก็ทำการอบแบบหมุนเวียนในตู้นั้น แล้วเปิดทำการลดความชื้นไปนกระทั่งได้ความชื้นที่ต้องการแล้วก็ปล่อยออกลำเลียงไปเก็บในโกดังหรือไซโลที่กำหนดไว้
2. ระบบอบไหลต่อเนื่อง คือการป้อนเข้าในตู้แรกแล้วก็อบเมื่อออกจากตู้แรกก็ไปตู้ 2 – 3 – 4 (ตามที่กำหนดไว้) และความชื้น ความร้อน จะต้องกำหนดให้เหมาะกับการอบในช่วงนั้นๆ ระบบนี้จะอบข้าวได้มากแต่ควบคุมความชื้นลำบากสักหน่อย
การวัดความชื้น
1. ต้องวัดขาเข้า คือ วัดข้าวเปลือกที่นำเข้าไปอบ ไห้ดีต้องคัดข้าวเปลือกที่มีความชื้นใกล้เคียงกันจะทำให้อบได้คุณภาพดีกว่าไม่คัดความชื้น
2. ระหว่างการอบ (แบบหมุนเวียน คือ การอบหมุนเวียนในตู้เดียวจนได้ความชื้นที่ต้องการ) ในทางปฏิบัติจะวัดทุก 1 ชั่วโมง เพื่อนำข้อมูลของความชื้นและความร้อนของเมล็ดข้าวเปลือกมาเป็นตัวตัดสินใจว่าจะลดความร้อนหรือจะเพิ่มความร้อนของลมร้อนที่เข้าเตาอบในชั่วโมงต่อไปเพื่อควบคุมความร้อนที่อยู่ในตู้อบ
เนื่องจากเมื่อความชื้นลดลงทุกรอบชั่วโมงที่อบนั้นความร้อนของลมร้อนที่เราป้อนเข้าไปในตู้ก็ต้องลดลงเช่นกัน แล้วอะไรเป็นตัวชี้วัดข้อมูลเหล่านี้ ปัจจุบันก็มีพนักงานควบคุมการอบข้าวที่ดูแลเรื่องกิจกรรมต่างๆในการอบลดความชื้นข้าวเปลือก
หน้าที่หลักๆ คือ การตรวจสอบความชื้นข้าวเปลือกที่กำลังอบอยู่ในตู้อบเพื่อนำข้อมูลมาปรับอุปกรณ์ควบคุมที่หน้าตู้คอนโทรล ซึ่งในแต่ละโรงสีก็มีตู้อบหลายชุดแต่ละชุดก็หลายตู้ มีทั้งระบบอบหมุนเวียนแบบตู้ใครตู้มัน อบจนได้ความชื้นที่ต้องการแล้วก็ปล่อยออกลงสายพานส่งไปโกดังหรือถังสต็อก
มีอีกระบบ คือ การอบไหลผ่านจากความชื้นขาเข้า 28-30 จุด ลงตู้ที่ 1 แล้วก็ต่อไปตู้ที่ 2 – 3 – 4 – 5 เรื่องจำนวนก็แล้วแต่เจ้าของโรงสีกำหนดของลองคำนวนดูว่าตู้อบมีหลายตู้ ต้องวัดทุกชั่วโมง ต้องอ่านค่าความชื้น ความร้อน แล้วมาปรับอุปกรณ์
เช่น อินเวิสเตอร์ โรตารี่ปล่อยข้าวด้านล่าง ปีกผีเสื้อที่ทำหน้าที่ผสมลมบรรยากาศเข้าไปผสมกับลมร้อนเพื่อให้ค่าความร้อนได้เท่ากับความต้องการ มากหรือน้อยอยู่ที่ค่าความร้อนที่ต้องการพนักงานเป็นคนกำหนด พนักงานที่ทำงานกะกลางวันก็พอทำเนา แต่ถ้าเป็นกะดึกถึงสว่างท่านลองคิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับข้าวเปลือกราคาเกวียนละหมื่นหรือหมื่นกลางๆ
โรงสีข้าวขนาดธรรมดาเรียกว่า กลางๆ ก็ 300 เกวียน/24 ชั่วโมง หน้าข้าวเปลือกกำลังเก็บเกี่ยวการซื้อข้าวและอบกันตลอดวันตลอดคืนน่ามากกว่า 300เกวียน/วัน แล้วเวลากลางคืนที่เครื่องอบทำงานอยู่นั้น พนักงานควบคุมการทำงานของเครื่องอบราคาแพงของท่านจะทำการวัดความร้อน ความชื้น ของข้าวเปลือกในตู้อบจำนวน 10 กว่าตู้นั้นได้ครบถ้วนหรือไม่
ถ้าครบก็แล้วไปแต่ถ้าจดบ้างไม่จดบ้างเพราะทำไม่ทัน ข้าวที่เข้ามาอบก็มีความชื้นที่ไม่เท่ากันแล้วจะดูกันอย่างไร จะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้าวเปลือกที่อบแต่ละตู้มีความชื้นเท่าไหร่ ความร้อนเท่าไหร่ มาตามดูว่าอะไรเกิดขึ้น
1. ข้าวที่อบเสร็จแล้วออกทางปลายทางในตู้สุดท้าย ความชื้น/ความร้อน ก็ควบคุมได้ยากเพราะตู้อบทุกตู้มีการตั้งค่าความร้อนและความเร็วของข้าวเปลือกไว้แล้วแบบว่าสัมพันธ์กันโดยตลอดการเดินทางของข้าวเปลือกทุกตู้ก็เดินกันมาอย่างสม่ำเสมอไม่มีติดขัด
ข้าวที่อบเสร็จแล้วความชื้นก็สม่ำเสมอเช่นท่านตั้งไว้ 14 จุดก็จะออกมา 14 จุดเป๊ะตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง (นั้นคือความฝันที่ทุกท่านคิดว่าต้องเป็นแบบนั้น)
2. แต่ถ้าไม่เป็นไปตามที่ท่านตั้งโปรแกรมเอาไว้ แล้วเกิดผิดพลาดขึ้นมาในบางจุดบางเรื่องหรือหลายเรื่องความเสียหายที่คำนวนได้ และคำนวณไม่ได้ บางครั้งเสียหายมากกว่าท่านคำนวณไว้อีก
เช่น ข้าวเหลือง เพราะอบไม่แห้ง ความชื้นสูงไป เพราะการตรวจสอบไม่ครบถ้วน ข้าวที่มีความชื้นสูงหลุดไปผสมกับข้าวที่ดีทำให้เกิดข้าวเสื่อมโดยไม่ตั้งใจ
3. หากว่าอบแห้งไป เพราะว่าเกรงจะโดนตำหนิว่าอบชื้นไปจึงอบเผื่อแห้งไว้เลยจะได้ไม่โดนตำหนิ ท่านก็คิดได้เพราะมีสูตรคำนวณ ข้าวหนึ่งตันหากความชื้นลดลงไปกว่าเป้าหมาย 1 จุดน้ำหนักจะหายไป 10-12 กิโลกรัมเราคิดแค่ 10 กิโลกรัมก็พอ
ข้าว 300 ตันต่อวันหากอบแห้งไปกว่าเป้าหมาย 1 จุดข้าวเปลือกจะขาดน้ำหนักไป 300X10 = 3000 กิโลกรัมX10 บาท=30,000 บาท วันละ 30,000.-บาท ท่านอบกี่วันก็คูณเข้าไป
4. มีหลายท่านบอกว่า มีการจดบันทึกทุกชั่วโมง ทุกตู้ตลอดเวลา ไม่มีพลาดข้าวที่ออกมาได้ความชื้นที่ต้องการตามรายงานที่บันทึกไว้ สามารถตรวจสอบได้ ผมเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อมีการนำข้าวออกมาสีก็เห็นว่ามีข้าวเสื่อมคุณภาพเช่น เหลือง ดำ อยู่ไม่น้อยที่หลังเครื่องยิงสี
5. ปีนี้ข้าวเปลือกที่ซื้อไม่ค่อยสมบูรณ์ น้ำหนักข้าวเปลือกที่ซื้อไว้คำนวณแล้ว หักสิ่งเจือปนและข้าวขาดไว้แล้วแต่ก็ไม่พอข้าวเบามาก น้ำหนักขาดไปมากเลยครับ สีออกมาก็ข้าวต้นสวยแต่ข้าวท่อนข้าวปลายก็มากกว่าปกติ แกลบหนัก รำหนักไม่รู้ว่าเป็นอะไร (แต่ข้าวต้นสวยนะครับ หาบข้าวก็ดี ข้าวเป็นตัว) ท่านลองค้นหาสาเหตุดูว่าเกิดจากอะไร ตู้อบหรือเปล่า ?
หลายสาเหตุที่เขียนมาให้อ่านนี้ คือ คำถามที่เกิดขั้นสม่ำเสมอในการสีข้าว ท่านลองวิเคราะห์สาเหตุว่าที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากเครื่องวัดความชื้นหรือเปล่า เครื่องวัดที่ใช้อยู่นั้น ใช้ตัวอย่างในการวัดเพียง (—–กรัม) ไม่ถึง20 เมล็ดแต่มาตัดสินข้าวเปลือกบนรถบรรทุกหรือมาตัดสินความชื้นจำนวนมากในตู้อบ
ลองมองหาเครื่องวัดความชื้นที่มีคุณภาพสูง แม่น รวดเร็วสามารถรายงานได้ ไม่ต้องทำลายตัวอย่าง วัดความชื้นที่เนื้อข้าวไม่ใช้วัดแค่เปลือกภายนอก ตัวอย่างข้าวเปลือกที่ในการตรวจ (———–กรัม) ในแต่ละครั้ง มากกว่าแบบมือบิด ที่ใช้เพียง (———–กรัม )
สามารถให้คำตอบท่านได้ 12 รายการ / ในการทำงานเพียง 1 ครั้ง
1) วันที่ ——————
2) เวลาที่ทำการวัด———–
3) ครั้งที่ ——————
4) ความชื้น———————–
5) ความร้อน———————-
6) ความถ่วงจำเพาะของข้าวเปลือก *———————-
7) ชื่อลูกค้า———–
8) ชื่อ ผู้วัดความชื้น—————–
9) พิมพ์เป็นบิลให้ลูกค้าเซ็นต์รับ————–
10) มี 2 ก็อปปี้สำหรับลูกค้าและโรงสี——————
11) ต่อเข้าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ ———————-
12) สามารถทำรายการคำนวณอื่นๆต่อได้ ———————-
ทุกรายการที่กล่าวมาทำให้เรียบร้อยในการวัดครั้งเดียว
#ความถ่วงจำเพาะ specific gravity คือ การวัดความแกร่ง ความหนาแน่นของเนื้อข้าวในเปลือกว่ามีความหนาแน่น (เนื้อข้าวภายในเปลือกข้าวนั้น แกร่ง หรือ เนื้อข้าวภายในไม่แกร่ง) จากการคำนวณปริมาตรที่เท่ากันกับน้ำหนักที่เกิดขึ้น
##เป็นอ๊อฟชั่นเพิ่มเติม
————————–
ผมตั้งใจแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ 60 กว่าปีในเรื่องเครื่องสีข้าว และเทคโนโลยีในการสีข้าว เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจจะสร้างโรงสี เจ้าของโรงสีมือใหม่ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์โรงสี หรือ โรงสีชุมชน
เราภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมข้าวไทยที่มีชื่อเสียงและคุณภาพอันดับหนึ่งของโลกมาอย่างยาวนาน
ด้วยความปรารถนาดี
วิสูตร จิตสุทธิภากร
13 ก.ค. 2562